เจ้าปรัชญาเต๋า หรือ “เล่าจื๊อ” มีชีวิตอยู่เมื่อราว 600-500 ปีก่อนคริสตกาล คือสองพันห้าร้อยกว่าปี ดังนั้นเรื่องราวเกี่ยวกับบุรุษผู้นี้จึงมีลักษณะกึ่งตำนานและนิทาน และด้วยความที่เขาเป็นคนลึกลับ จึงไม่ได้จดบันทึกประวัติศาสตรืตนเองไว้เลย แม้อต่ลูกศิษย์ก็ไม่ได้จารึกไว้เช่นกัน
มีบางตำราที่รูปลักษณ์ของเล่าจื๊อ “รูปร่างสูง หูยาว ตากลมโต หน้าผากกว้าง และริมผีปากหนา” ในทางชาวจีนเชื่อว่าเป็นลักษณะของคนทรงภูมิ ผู้คงแก่เรียน หรือเป็น “ปราชญ์” ในทัศนะของชาวจีน
ตำนานเล่าว่า เล่าจื๊อเกิดมาพร้อมหนวดเคราหงอกขาวโพลน เกิดในกลียุคที่บ้านเมืองเต็มไปด้วยสงคราม แผ่นดินจีนจึงเกิดนักปราชญ์ผู้มีแนวคิดในการเสาะแสวงหาความรู้ ความเข้าใจในชีวิต และสร้างหลักเกณฑ์ทางจริยธรรมมาค้ำจุนสังคม ปลดปล่อยมนุษย์จากความวุ่นวาย เกิดเป็นศาสนาจารย์คนสำคัญในห้วงเวลาไล่เลี่ยกัน คือ “ขงจื๊อ” กับ “เล่าจื๊อ”
เล่าจื๊อรับราชการเป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ หรือ ผู้อำนวยการหอสมุดหลวงแห่งราชวงศ์โจว เขาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่มุ่งแสวงหาลาภ ยศ สรรเสริญ บรรดาศักดิ์ และด้วยความที่สมัยนั้นฮ่องเต้ค่อนข้างสำมะเลเทเมา ทำให้เล่าจื๊อเชื่อว่าไม่ช้าราชวงศ์คงล่มสลาย จึงออกจากราชการ ระหว่างทางนายด่านขอให้ท่านเขียนตำราใช้เป็นคัมภีร์หลักธรรมนำชีวิตและยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงเป็นที่มาของ “คัมภีร์เหลาจื่อ” ก่อนที่เขาจะหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่มีใครพบเขาอีกเลยตั้งแต่นั้น
“คัมภีร์เหลาจื่อ” นั้นไม่มีหลักไวยากรณ์ที่แน่ชัด ทำให้ตีความได้หลากหลาย ไม่มีเอกพจน์ พหูพจน์ ไม่มีกรณีตัวอย่างใด ๆ จนทำให้คนต่างตั้งคำถามว่า
มีการตั้งคำถามว่า เล่าจื๊อเขียนคัมภีร์นี้เองหรือไม่ เพราะสำนวนในคัมภีร์มีความเป็นสุภาษิต เต็มไปด้วยการอุปมาอุปไมย จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจถูกเสริมแต่งโดยปราชญ์หลายท่านเรียบเรียงต่อเนื่องกันมา
แนวคิดของเล่าจื๊อสะท้อนความเป็นนัก “เสรีนิยม” ที่ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบของขนบธรรมเนียมทางโลก เข้าสู่หลักที่เหนือจากทางโลก มุ่งหลุดพ้นจากเรื่องทางโลกเหมือนพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติของผู้ถือลัทธิเต๋าอย่างเคร่งครัด ซึ่งลักษณะเด่นของความเชื่อแบบเต๋าคือ สรรพสิ่งในจักรวาลไม่มีสิ่งใดให้ยึดถือ ไม่มีอะไรดีหรือเลวที่สุด ทุกอย่างมีวิถีทางของตนเอง ไจะเติบโตหรืองอกงามก็เป็นไปตามวิถีของสิ่งนั้น นี่คือหัวใจสำคัญของ “เต๋า”