กิมย้ง เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในตั้งแต่ช่วงวัยหนุ่ม 31 ปี โดยนิยายของกิมย้งนั้นเป็นที่รู้จักทั่วโลก เป็นดาวเด่นที่นิยายของเขานั้นได้รับการแปลเป็นฉบับพากษ์ภาษาเกาหลี อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย ทั้งยังมีบางเรื่องที่ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ หรือซีรี่ส์ดังๆ อีกมากมาย แต่ที่เป็นที่รู้จักและนิยมอย่างมากคือ นิยายกำลังภายในพิชิตยอดขายถึง 300 ล้านเล่มจากทั่วโลก
ถึงแม้ว่ากิมย้งเองนั้น ไม่ได้เชิดชูงานเขียนของเขามากนัก แต่คนในวงการก็ยกย่องงานประพันธ์ของกิมย้งมีคุณค่าเชิงวรรณกรรมอย่างสมบูรณ์ และประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับสามก๊ก ซ้องกั๋ง ไซอิ๋ว ด้วยเนื้อเรื่องดี แต่งดี เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างยาวนานจนเขาได้รับการยกย่องเป็น “นักเขียนนิยายกำลังภายในมือหนึ่งของโลก” และไม่ใช่แค่นิยายเท่านั้นที่เขาเขียน แต่กิมย้งยังได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนบทวิพากษ์วิจารณ์สังคมมือหนึ่งแห่งฮ่องกง แม้กระทั่งผู้นำในกรุงวอชิงตันก็ติดตามบทวิพากษ์วิจารณ์ของเขา โดยเฉพาะการวิเคราะห์มุมมองสังคมจีน
กิมย้งนั้นรักการอ่านหนังสือตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อตอนอายุ 9 ขวบ เขาก็อ่านทั้งนิยายของจีนทั้งหมด ส่วนวิธีการอ่านหนังสือของเขานั้น คือ การอ่านแบบละเอียดยิบทุกตัวอักษร โดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษ “เมื่อเจอตัวที่ไม่รู้ความหมายก็จะเปิดพจนานุกรมทันที” ซึ่งเปลืองเวลามาก แต่นานเข้าๆ การอ่านหนังสือจากยากๆและเสียเวลานั้น ก็กลายเป็นเรื่องง่ายๆที่ไม่ต้องใช้เวลานานเลยด้วยซ้ำ!
การอ่านหนังสือของกิมย้งนั้น ไม่เพียงแต่ให้ความรู้ แต่ยังเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด ในเวลาที่เขาเองนั้นโดดเดี่ยว เหงา หรือเศร้าใจ ก็พบว่าเมื่ออ่านหนังสือก็จะรู้สึกดีขึ้น อีกทั้งการอ่านหนังสือยังทำช่วยขัดเกลาจิตใจอีกด้วย โดยที่เขาเองนั้นหวังว่านิยายของเขา จะให้เยาวชนมีสำนึกช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม รู้จักผิดชอบชั่วดี บ่อยครั้งที่กิมยิ้งรู้สึกไม่พอใจกับการดัดแปลงเอานิยายของเขาไปเป็นภาพยนตร์ เพราะเขารู้สึกว่ามันกลายเป็นเรื่องที่แข็งกระด้างไปทางที่ดี ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลยก็จะดีที่สุด
กิมย้งนั้นชื่นชอบการอ่านหนังสือ และถ้าหากมีการเปรียบระหว่าง 2 ทางให้เลือก ระหว่างติดคุก 10 ปี แต่มีอิสรภาพในการอ่านหนังสือ กับมีเสรีภาพในโลกภายนอก แต่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้นั้น เขาเลือกที่จะขอติดคุกดีกว่า
สำหรับนิยายของกิมย้ง ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี จารีตขนบธรรมเนียมของชนชาติจีน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านยาแผนจีน การฝังเข็ม ศิลปะการต่อสู้ ตลอดจนประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน จนบทประพันธ์ของเขานั้น ได้รับว่าเป็นการยกย่องเชิดชูคุณค่าประเพณีจีนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดของขงจื่อ ที่ชี้แนะความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างผู้ปกครองและประชาชน พ่อกับลูก ผู้อาวุโสและผู้น้อย อาจารย์กับศิษย์
แต่แล้วในที่สุด กิมย้งก็ได้แหกกฎเกณฑ์ทั้งหมดที่เขาได้ตั้งไว้ในการเขียนนิยายของเขา ในงานชิ้นสุดท้าย “อุ้ยเซี่ยวป้อ” โดยตัวเอกนั้น มีบุคคลิคที่ต่อต้านวีรบุรุษ แต่ก็ทำให้เรื่องนี้โด่ดเด่นไม่แพ้เรื่องอื่นที่เขาได้เขียนขึ้นเช่นกัน