คนจีนอาศัยอยุ่ทั่วทุกแห่งในไทย นั่นคือสิ่งที่เรารับรู้ได้ในปัจจุบัน ลองมาดูความเป้นมาของชาวจีน ที่เข้ามาในไทยกันว่าแต่ละสมัยที่มาที่ไปของจีนแต่ละรุ่นนั้นเป็นอย่างไรบ้าง
รุ่นแรกเลยที่ไม่พูดถึงไม่ได้ น่าจะเป็นจีนในสมัยรัชกาลที่ 5 (ต้นรัตนโกสินทร์ – อยุธยา) ที่เรียกตนเองว่า “คนไทย”ไปแล้ว เนื่องจาก ชาวจีนในยุคน้โล้สำเภามาหางานแรงงานที่ไทย เขาเหล่านั้นได้แต่งงานกับชาวพื้นเมืองของไทย เช่นจังหวัดนครสวรรค์ ทำให้มีลูกหลานที่เป้นเชื้อสายจีนไทย และพูดภาษาไทย ต่อมาลูกหลายเหล่านี้ก็ได้อต่งงานกับคนไทยต่อมาหลายๆรุ่น ทำให้เชื้อสายจีนเนชริ่มถูกกลืนกายไป หรือไม่มีการสืบทอดวัฒนธรรมจีนที่รับมาจากต้นตระกูลสักเท่าไหร่ เพราะพวกเขาโดนผสมจนแทบจะกลืนเป็นไทยอย่างสมบูรณ์
ในยุครุ่นแรกนี้มีการสร้างทางรถไฟสายเหนือ แรงงานชาวจีนจำนวนมากได้สร้างทางรถไฟ และเมื่อสร้างเสร็จชาวจีนที่พอใจในหลักแหล่งมักจะตั้งถิ่นฐานที่นั่น เช่น จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลำปาง, จังหวัดเชียงใหม่ แรงงานจำนวนมากเป็นผู้ชาย และได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง ในปัจจุบันถูกชาวพื้นเมืองกลืนไปหมดแล้ว มีจำนวนน้อยเท่านั้นที่ชักจูงญาติมาอยู่อาศัยด้วยกันและสืบทอดเชื้อสายจีน
รุ่นต่อมาเป็นชาวจีนที่อพยพมายุคหลังรัชกาลที่ 5-8 มักจะพูดภาษาจีนได้แค่รุ่นแรก ๆ เท่านั้น เรียกได้ว่าพูดจีนได้แต่รุ่นปู่ย่า-ตายาย-ทวด เช่นที่เยาวราช ชาวจีนรุ่นแรกสามารถพูดภาษาจีนได้ แต่รุ่นหลัง ๆ ไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ ด้วยสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยที่ห้อมล้อม ทำให้ไม่ได้ใช้ภาษาจีน ส่วนมากมักจะใช้ภาษาไทยซะส่วนใหญ่มากกว่า
ต่อมารุ่นปัจจุบัน คือชาวจีนยุครัชกาลที่ 9 คือชาวจีนที่แต่งงานกับชาวไทยและมีลูกเรามักจะเรียกว่าลูกครึ่ง และมีการระบุรองรับสัญชาติไทย-จีนตามกฎหมาย ชาวจีนที่ย้ายมาอยู่ในประเทศไทยมักจะถูกเรียกว่าชาวต่างชาติ
ดังนั้นตามร้านค้าในเยาวราชแหล่งชาวจีนโพ้นทะเลในกรุงเทพมหานคร การแต่งงานข้ามเชื้อชาติระหว่างไทยกับจีน และชาวจีนในประเทศไทยก็ใช้ชีวิตกลมกลืนกับชาวไทยจนเป็นเรื่องปรกติ และมีคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าตนเป็นคนไทยไม่ใช่คนจีน หรือไม่ทราบว่ามีเชื้อสายจีน ทำให้ไม่สามารถหาจำนวนประชาชนที่เป็นเชื้อสายจีนที่ชัดเจนได้ รวมถึงภาษาจีนในประเทศไทยไม่มีคนพูดแล้วอีกด้วย
ในอดีตประเทศไทยมีการยกเลิกระบบโรงเรียนจีน จึงทำให้ลูกหลานชาวจีนจำนวนมากอ่าน-เขียน-พูด ภาษาจีนไม่ได้ แต่ในปัจจุบันนี้ประเทศไทย ได้เปิดให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบสามภาษาในแต่ละโรงเรียน โดยมีภาษาจีนเสริมเข้ามาเป็นภาษาที่สาม อีกทั้งโรงเรียนบางแห่งยังเป็นโรงเรียนจีนโดยเฉพาะ ให้กับนักเรียนที่เป็นสัญชาติไทยจีน หรือจีนที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในไทยได้เรียนภาษาบ้านเกิดของตนอีกด้วย