“ตุ๊กตาอับเฉา” หรือ “อับเฉาเรือ” มีเรื่องเล่าต่อกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศไทย ได้มีการค้าขายกับประเทศจีน โดยใช้การขนส่งสินค้าทางเรือสำเภา เวลาที่จะส่งของทีก็จะมีสินค้าทุกไปเต็มเรือ แต่เมื่อเวลากลับมานั้น กลับเป็นเรือที่ว่างเปล่า จนทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้ ในเรื่องของลมในการเดินเรือ สมัยดบราณจึงมีการคิดค้น ใช้หินแกรนิตเป้นแท่งบาวแบนจัดเรียงไว้ใต้ท้องเรือ เพื่อปรับสมดุลของเรือ ให้เรือไม่โคลงเครงจนอาจล่มได้ หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนจากหินแท่งเป็น “ตุ๊กตาจีนแกะสลักจากหิน” และทำเป็นภาชนะหรือลวดลายรูปตามที่มีคนต้องการ บรรทุกไว้โดยนำตุ๊กตาหินไปไว้ที่ห้องใต้ท้องเรือ ที่เรียกว่า “ห้องอับเฉา” จนเมื่อถึงจุดหมายหรือประเทศไทยนั้น ได้นำตุ๊กตาอับเฉาจำนวนมากนี้ไปถวายวัด ใช้เป้นการตกแต่งสถานที่ ณ วัดราชโอรสาราม วัดประจำรัชกาลที่ 3 อีกด้วย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ที่การค้าสำเภารุ่งเรืองมาก และทรงมีพระราชนิยมในศิลปกรรมจีน จึงทรงสั่งตุ๊กตาศิลาจีนมาประดับตามวัด และได้รับอิทธิพลของศิลปะจีน จนเรียกกันว่า “ศิลปะแบบพระราชนิยม” ส่วนเรือสำเภาของพ่อค้าชาวจีนที่ใช้ตุ๊กตาศิลาบรรทุกเป็น “อับเฉา” ใต้ท้องเรือ เมื่อมาถึงไทย ก็ได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายเป็นเครื่องบรรณาการ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีทั้งกับไทยและกับจีน เป็นความสัมพันธ์อันดี เพราะชาวจีนเองก็พอใจที่ได้เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของตน ทำให้เครื่องศิลาและตุ๊กตาศิลาจีนเข้ามาเผยแพร่มากมาย ส่วนประเทศไทยก็มีตุ๊กตาศิลาจีนและเครื่องจำหลักศิลาจีนที่มีอยู่ตามพระอารามในประเทศไทยเช่นกัน
ความหมายของ “อับเฉา”
- ไม่สดชื่น ไม่เบิกบาน
- ของหนักที่ใช้ถ่วงใต้ท้องเรือเดินทะเล
- ระบบของน้ำอับเฉา เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้เรือสามารถทรงตัวได้ดี
Credit From: https://thit.link/BqDgT4G