แพนด้าสีน้ำตาลถูกพบเป็นครั้งแรกในประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ. 2528 เป็นแพนด้าที่มีสีขนเป็นสีน้ำตาล-ขาว แทนที่จะเป็นสีดำ-ขาว ซึ่งผ่านมาแล้วกว่า 40 ปี นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสาเหตุที่แพนด้ามีขนสีแปลกไป โดยงานวิจัยนี้เผยแพร่ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) ที่ศึกษาแพนด้าที่ชื่อ “ฉีไจ้ (Qizai)” แพนด้าสีน้ำตาลขาวที่ถูกเลี้ยงดูโดยมนุษย์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ Louguantai ศูนย์เพาะพันธุ์และคุ้มครองสัตว์ป่า เมืองซีอาน ประเทศจีน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แพนด้ามีขนสีน้ำตาลขาวเพราะว่ายีนกลายพันธุ์ การเปรียบเทียบรูปแบบและการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของแพนด้าสีน้ำตาลขาวกับแพนด้ายักษ์อีก 227 ตัว พบว่าแพนด้าขนน้ำตาลขาวมีการกลายพันธุ์ 2 ชุดในยีน Bace2 หนึ่งชุด จากพ่อแม่แต่ละตัว แล้วเมื่อศึกษาขนของฉีไจ้ พบว่ามีเมลาโนโซมขนาดเล็กกว่าประมาณ 55% และมีน้อยลง ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับขนของหนูสีน้ำตาลที่มีเมลาโนโซมน้อยลง
ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์อาจสรุปได้ว่า แพนด้าจะมีขนสีน้ำตาลขาวหากได้รับยีนกลายพันธุ์จากพ่อและแม่ทั้งคู่ ทั้งนี้แพนด้าขนสีน้ำตาลขาวไม่ได้มีความผิดปกติทางกายภาพเป็นพิเศษ สามารถใช้ชีวิตและสืบพันธุ์ได้ตามปรกติ
Credit From: https://thit.link/fxis54R