ประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อนแล้วและอากาศก็กำลังร้อนขึ้นเรื่อยๆ บางคนคลายร้อนด้วยการนั่งจ่อพัดลม เปิดแอร์หรือหาสถานที่ตากแอร์ หรือมีเครื่องดื่มใส่น้ำแข็งเย็นๆ ดื่มคลายร้อนกัน สำหรับคนจีนในอดีตก็มีวิธีคลายร้อนโดยการใช้น้ำแข็งเหมือนกันนะคะ
ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง การใช้น้ำแข็งคลายร้อนเป็นเรื่องปกติมากสำหรับคนในราชวังและชาวบ้าน และมีสถานที่เก็บน้ำแข็งแบ่งเป็นสำหรับหลวง ท้องถิ่นและชาวบ้าน โดยน้ำแข็งที่นำมาใช้เป็นน้ำแข็งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ หลังวันหลี่ตงหรือประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน จะมีการทำความสะอาดแหล่งน้ำ ตักขยะออก เปิดประตูต้นน้ำเพื่อผลักสิ่งปฏิกูลออกไปแล้วปิดประตูปลายน้ำเพื่อเก็บน้ำเอาไว้ มีการบูชาเทพเจ้า คนงานสวมชุดเฉพาะสำหรับงานลงไปตัดน้ำแข็ง แต่ละก้อนเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ยาวประมาณ 1 ฟุต 5 นิ้ว น้ำหนักราว 80 กิโลกรัม แล้วนำไปเก็บยังสถานที่เก็บโดยเรียงจากพื้นไปถึงเพดานเป็นแถวตามความจุของสถานที่
พื้นที่เก็บน้ำแข็งหลวงจะมีขนาดใหญ่ อย่างเช่นในกรุงปักกิ่ง พระราชวังต้องห้ามทั้ง 5 แห่ง ห้องเก็บน้ำแข็งจะอยู่ใต้ดินลึก 105 เมตร ผนังห้องก่อด้วยหินและอิฐต่อสูงขึ้นไป หนา 2 เมตร พื้นปูด้วยแผ่นดินขนาดใหญ่ มีท่อระบายน้ำแข็งที่ละลายที่มุมห้อง สามารถเก็บน้ำแข็งได้ 25,000 ก้อน และมีที่เก็บน้ำแข็งหลวงเพื่อไว้ใช้ในพิธีเซ่นไหว้และราชสำนักอีก 3 แห่ง คือ นอกประตูตะวันตกของภูเขาจิ่งมีที่เก็บ 6 แห่ง เก็บได้ 54,000 ก้อน, นอกประตูเต๋อเซิ่งมีที่เก็บ 3 แห่ง เก็บได้ 36,700 ก้อน สำหรับที่เก็บน้ำแข็งของชาวบ้านก็จะก่อด้วยดิน
ในอดีตสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงมีการนำน้ำแข็งทำให้อากาศเย็นขึ้น โดยจะนำน้ำแข็งใส่ใน “กล่องน้ำแข็ง” ทำจากไม้ มีฝาปิดเปิดได้ และมีช่องระบายอากาศให้ความเย็นออกมา ด้านในจะบุตะกั่วเอาไว้ เป็นเหมือนกับเครื่องปรับอากาศนั่นเอง
การนำน้ำแข็งออกมาใช้ ไม่ได้นำมาใช้ได้เรื่อยๆ จนกว่าจะหมด เพราะมีกำหนดระยะเวลาใช้ คือ จะนำมาใช้ในฤดูร้อน ตั้งแต่วันที่ 1 เดือน 5 ถึง 30 เดือน 7 ตามปฏิทินจีนเท่านั้น
ถ้าต้องสร้างสถานที่สำหรับเก็บน้ำแข็งเพื่อใช้คลายร้อนและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในช่วงหน้าร้อน ทั้งชาวบ้านหรือราชสำนักก็สามารถเข้าถึงน้ำแข็งได้อีกด้วย หน้าร้อนในสมัยนั้นคงร้อนมากสำหรับคนที่อาศัยอยู่จริงๆ นั่นแหละค่ะ
Credit From: