“โพยก๊วน” คือจดหมายและเงินที่ชาวจีนโฑ้นทะเลส่งให้ญาติที่อยู่ที่ประเทศจีน ซึ่งแต่ก่อนระบบการเงิน ยังไม่มีการโอนเข้าออก หรือความก้าวหน้าของธนาคารยังมีมไม่มากนัก ทำให้ชาวจีนที่มาอาศัยอยู่ในไทย ใช้ระบบ “โพย”
“โพย” และ “ตั๋วแลกเงิน” คือตราสารทางการเงิน ทำด้วยกระดาษ ไว้ใช้แลกเป็นเงินสด ต่างกันตรงที่ “โพย” เป็นตราสารทางการเงินระหว่างประเทศ ที่สำคัญการใช้โพยนั้น มักต้องมีจดหมาย ถาม-ไถ่สารทุกข์สุขดิบฝากแนบไปด้วยทุกครั้ง โดยที่อยู่ในซองเดียวกัน นึกภาพอย่างง่ายคือเวลาการส่งเงินเหมือนกับธนาณัติ แล้วใจ้อความสั้นๆแบบโทรเลขไปด้วย และในข้อความสั้นๆนั้น มักเขียนด้วยพู่กันจีนสั้นๆ บอกความเป็นอยู่ผู้ส่ง และถามถึงผู้รับ
นอกจากนี้บางคนยังมีการใช้สัญลักษณ์ในการประทับหมึกสีต่างเพื่อเป็นการแสดงว่า คนทางบ้านมีความเป็นอยู่อย่างไร หรือเสียชีวิตลงแล้ว สำหรับคนที่เป็นคนรับส่ง “โพย” นั้นเรียกว่า “จุยแคะ” โดยการส่งก็ไม่ได้แตกต่างจากปัจจุบันมากนัก เพราะถ้าเป็นผู้ส่งรายย่อย ต้องไปส่งที่สำนักงานโฑยเอง แต่ถ้าเป็นผู้ส่งรายใหญ่ ทางสำนำงานจะจัดส่งเจ้าหน้าที่เดินทางมารับเอง
ผู้ส่งโพยนั้นมักจะใช้บริการโพยก๊วยที่เป็นคนบ้านเดียวกัน หรือมีคนแนะนำมา เพื่อป้องกันการโกง โกงเงินกันนั่นเอง ส่วนใหญ่ชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยอยู่ในกทม. จะใช้โพยก๊วนที่เยาวราช แต่สำหรับชาวจีนที่อยู่ต่างจังหวัด จะรวบรวมโพยจากจังหวัดใกล้เคียง เพื่อมาส่งในกทม.อีกทีหนึ่ง และไม่ต้องห่วงสำหรับคนที่ไม่รุ้ภาษษเขียนไม่ได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ที่โฑยก๊วนคอยบริการเขียนตามคำบอกให้
การส่งโพยนั้น ใช้การจัดส่งทางเรือ ซึ่งที่จีนเองก็จะมีสำนักโพยก๊วนอยู่เช่นกัน และจะมีคนเดินโพย “ปุงโพย” คอยเดินแจกให้ผู้รับ ไม่ต้องกลัวว่าจะมีคนปล้นระหว่างทาง เพราะในแต่ละหมู่บ้านนั้น จะไม่มีคนที่จะมาปล้น เพราะเรงกลัวผลกระทบสู่วงกว้าง เนื่องจากรู้ว่ามีหลายครอบครัวรอคอยโพยอยู่เช่นกัน